THAI  /  ENG

ต้นแบบในการใช้หญ้าแฝกในการฟื้นฟู เสริมความความแข็งแกร่ง

จุดที่ 1 การปลูกหญ้าแฝกเพื่อรับดินและน้ำ ร่วมกับการปลูกพืชเกษตรในพื้นที่ลาดชัน

          พื้นที่หน้าดินที่ถูกทำลายจากการทำการเกษตรแล้วปล่อยให้รกร้าง หมุนเวียนเปลี่ยนไปทำการเกษตรในพื้นที่อื่น ในการปรับปรุงพื้นที่ได้นำหญ้าแฝกมาปลูกทดแทนตามแนวในลักษณะเชิงลาด (slope) ซึ่งเริ่มจากการปรับหน้าดินเตรียมการปลูก แบบขั้นบันได หรือ ตะพัก (bench) โดยกำหนดขนาด ดังนี้

  1. ความกว้างของตะพัก (bench) มี 2 ขนาด ได้แก่ 1 เมตร และ 2-4 เมตร
  2. ความสูงของตะพัก (bench) มี 2 ขนาด ได้แก่ ความสูงน้อยกว่า 1 เมตร และความสูงมากกว่า 1 เมตร

วิธีการปลูกหญ้าแฝกบนตะพัก (bench)

วิธีการปลูกหญ้าแฝกบนตะพัก (bench) จะช่วยป้องการชะล้างพังทลายของหน้าดิน โดยแบ่งการปลูกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. บนตะพัก (bench) ที่มีความกว้าง 1 เมตร ความสูง 1 เมตร ปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตรงของตะพัก จำนวนไม่น้อยกว่า 2 แถว มีระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 20-25 เซนติเมตร ระยะห่างในแถว 5-10 เซนติเมตร และเว้นระยะปลูก 2 ตะพัก (2 ขั้นบันได) ดังภาพ

2. บนตะพัก (bench) ที่มีความกว้าง 2-4 เมตร ความสูงมากกว่า 1 เมตร ปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตรงของตะพัก จำนวนไม่น้อยกว่า 3 แถว มีระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 20-25 เซนติเมตร ระยะห่างในแถว 5-10 เซนติเมตร และปลูกทุกตะพัก (ทุกขั้น) ดังภาพ

ซึ่งในจุดที่1 การปลูกหญ้าแฝกเพื่อรับดินและน้ำ ร่วมกับการปลูกพืชเกษตรในพื้นที่ลาดชัน นอกจากจะปลูกหญ้าแฝก เพื่อการชะลอการพังทลายของหน้าดินแล้ว ยังมีการปลูกพืชคลุมดินเพิ่มเติม เช่น ปอเทือง เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินที่เสื่อมโทรม ดังนั้นในจุดนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหา สามารถทกให้หน้าดินที่เสื่อมโทรม ขาดสารอาหาร ได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งสามารถที่จะเป็นพื้นที่ในการเจริญเติบโตของต้นไม้ได้เร็วขึ้น จากผลการวิเคราะห์ดินและค่าความหนาแน่นของดิน พบว่า 

ก่อนปลูกหญ้าแฝก มีค่า สารประกอบอินทรีย์ (OM) 1.21% ฟอสฟอรัส (P) 14 (mg/kg)  ความซึมน้ำของตัวกลาง (K) 111 (mg/kg)  ความเป็นกรด-ด่าง (pH) 5.5 ความหนาแน่นรวม (Bulk density) 1.48 (g/cm3)

หลังปลูกหญ้าแฝก มีค่า สารประกอบอินทรีย์ (OM) 2.28 % ฟอสฟอรัส (P) 89 (mg/kg)  ความซึมน้ำของตัวกลาง (K) 309 (mg/kg)  ความเป็นกรด-ด่าง (pH) 5.6 ความหนาแน่นรวม (Bulk density) 1.35 (g/cm3)